ประวัติ เลสเตอร์ ซิตี้

ความเป็นมาของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ (Leicester City)

ชื่อเต็ม : สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ (Leicester City Football Club)
ฉายา : จิ้งจอกสีน้ำเงิน (The Foxes) หรือ จิ้งจอกสยาม (Siamese Foxes)
ก่อตั้ง : 1884 (as Leicester Fosse)
สนามกีฬา : คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม (King Power Stadium)
ความจุสนาม : 32,500 ที่นั่ง
เจ้าของ : กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ (King Power Group)
ประธานสโมสร : อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (Mr. Aiyawatt Srivaddhanaprabha)
รองประธานสโมสร : อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา (Mr. Apichet Srivaddhanaprabha)
อดีตประธานสโมสร : วิชัย ศรีวัฒนประภา (Mr. Vichai Srivaddhanaprabha)
ผู้จัดการทีม : เบรนแดน ร็อดเจอร์ส (Brendan Rodgers)
ลีก : พรีเมียร์ลีก (English Premier League) 
เว็บไซต์ : www.lcfc.com, www.lcfcthai.com
โซเชียลมีเดีย : Facebook, Instagram, Youtube, Line Official, Twitter

 

ต้นกำเนิด The Foxes

สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ มีชื่อเดิมว่า  สโมสรเลสเตอร์ ฟอสส์ เอฟซี (Leicester Fosse FC) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1884 ตั้งอยู่ในเมือง เลสเตอร์ เขต อีสต์ มิดแลนด์ของประเทศอังกฤษ ได้รับฉายาว่า The Foxes  ในประเทศอังกฤษ และมีฉายาว่า “จิ้งจอกสีน้ำเงิน” หรือ  “จิ้งจอกสยาม” ตามฉายาที่ได้รับในประเทศไทย

จุดกำเนิดของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ เริ่มต้นขึ้น จากนักบวชกลุ่มหนึ่ง ที่หลายคนศึกษาเล่าเรียนและเติบโตมาจากโรงเรียนเก่าแก่ วิกเกสตัน (Wyggeston School) บนถนนเซาธ์เกต บาทหลวงเลเวลลีน เอช พาร์สัน และลูกศิษย์ของท่าน ได้พูดถึงอนาคตอันน่าตื่นเต้น เกี่ยวกับการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลใหม่ และ การรวมตัวกันในครั้งนั้นก็ให้เกิดการก่อตั้งคณะกรรมการประจำสโมสรขึ้นมา โดยแต่ละคนลงทุนก่อตั้งสโมสรกันด้วยเงินลงทุน คนละ 9 เพนซ์ และ ลงเพิ่มอีกคนละ 9 เพนซ์ เพื่อนำไปซื้อลูกฟุตบอล

เดอะ ฟอสส์ เวย์ (The Fosse Way) ชื่อถนนเก่าแก่ในอาณาจักรโรมัน ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของสโมสรใหม่แห่งนี้ และ ที่มาของชื่อนี้ก็คือ ถนนที่เชื่อมระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษนั่นเอง

ชัยชนะนัดแรกของ เลสเตอร์ ฟอสส์ เอฟซี เกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1884 ท่ามกลางแฟนบอลจำนวนไม่มากนัก ในสนามแข่งขันส่วนตัวที่ถนนฟอสส์ เซาธ์ โดย เลสเตอร์ ฟอสส์ เอาชนะ สโมสรซิสตัน ฟอสส์ ไป 5-0 โดยอายุเฉลี่ยของผู้เล่นกลุ่มนั้นเพียงแค่ 16 ปีเท่านั้น โดยได้ประตูจากอาร์เธอร์ เวสต์ และ ฮิลตัน จอห์นสัน คนละสองลูก บวกกับ แซม ดิงลี่ย์ ยิงอีกหนึ่งประตู ในช่วงเวลานั้นฟุตบอลยังไม่เป็นที่นิยมเหมือนในปัจจุบัน หลายคนมองไปที่การเข้าร่วมกิจกรรมและออกกำลังกายเท่านั้น

ช่วงระหว่างปี 1884-1887 สังเวียนแข่งขันที่แรกคือ วิคตอเรีย พาร์ค ต่อมาทางสโมสรวางแผนจะย้ายมาปักหลักที่ เบลเกรฟ โร้ด ไซเคิล แต่แผนนี้ต้องล่มไปเพราะ สโมสรรักบี้เลสเตอร์ ไทเกอร์ส ประมูลสนามไปได้เสียก่อนในปี 1888 ทำให้เลสเตอร์ต้องกลับไปใช้สนามวิคตอเรีย พาร์ค ซึ่งต่อมาก็ขยับมาที่ มิลล์ เลน (ปัจจุบันคือศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยเดอ มงฟอร์ต)

ฤดูกาลแรกของสโมสรเลสเตอร์ ฟอสส์ ที่มิลล์ เลน พวกเขาได้แชมป์แรกกับสโมสรใหม่ (ฉายาในเวลานั้นคือ ฟอสซิล หรือ วิวัฒนาการขั้นต้นของสิ่งมีชีวิตโบราณ) พวกเขาเอาชนะ สโมสรโคลวิลล์ ในรายการเลสเตอร์เชียร์ เคาน์ตี้ คัพ รอบชิงชนะเลิศ ที่ โลโบโร่ในปี 1890 และฤดูกาลต่อมาพวกเค้าก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน เอฟเอคัพ เป็นครั้งแรก

ในเวลานั้นทีมยังคงมองหาสถานที่ในการตั้งสำนักงานอย่างเป็นทางการของสโมสร ต่อมามีปัญหาเกิดขึ้นอีกเมื่อมีแผนการสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณสนามมิลล์ เลน ทีมจึงต้องหาทางขยับขยายอีกครั้ง และมีอีกทางเลือกหนึ่งนั่นคือสนามคริกเก็ตที่ถนน เกรซ โร้ด

ในเดือนตุลาคม ปี 1891 โอกาสที่พวกเขาจะได้ตั้งรกรากที่ฟิลเบิร์ต สตรีทก็มาถึง ในเวลานั้น ถนนสายนั้นมีชื่อว่า วอลนัท สตรีท โร้ด ฤดูกาลแรกของ “เดอะ ฟอสซิลส์” ในมิดแลนด์ลีก ไม่ง่ายอย่างที่คิด แม้ว่าพวกเขาจะดึงผู้ชมเข้ามาได้ถึง 4,000 คนที่ฟิลเบิร์ต สตรีท แต่พวกเขาใช้เวลากว่า 3 ปี กว่าจะจัดการให้ทุกอย่างลงตัว

ก่อนที่ฤดูกาล 1893-1894 จะมาถึง เลสเตอร์ ฟอสส์ เซ็นสัญญานักเตะอาชีพมาได้ 19 คน และจบในอันดับที่ 2 ของตาราง ปี 1894เป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ของสโมสร เมื่อฝ่ายจัดการแข่งขันยกมือโหวตให้ เลสเตอร์ ฟอสส์ ลงแข่งขันในดิวิชั่น 2 ในเวลานั้น

ในช่วงเริ่มก่อตั้ง เลสเตอร์ ฟอสส์ ใช้ชุดแข่งสีดำสลับสีฟ้าอ่อน กับกางเกงสีขาว ภายหลังพวกเขาก็สลับเปลี่ยนมาใส่ชุดสีน้ำตาลกับน้ำเงิน กระทั่งปี 1903 จึงเปลี่ยนมาใส่ชุดสีน้ำเงินและขาว ตามที่แฟนบอลทุกคนรู้จักกันในทุกวันนี้

เลสเตอร์ ฟอสส์ ใช้เวลา 14 ปี ในการเลื่อนชั้นขึ้นมาอยู่ลีกสูงสุด สตาร์ประจำทีมในเวลานั้นอย่าง บิลลี่ แบนนิสเตอร์ (อดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษ) ทำให้แฟนบอลติดตามทีมเหนียวแน่น เพิ่มจำนวนผู้ชมมากขึ้นกว่า 13,000 คน

แต่พวกเขาก็อยู่ในลีกสูงสุดไม่นาน เพราะเลสเตอร์ ฟอสส์ ตกชั้นทันทีหลังผ่านไปแค่ 1 ฤดูกาล จากนั้นพวกเขาประสบปัญหาด้านการเงิน กระทั่งเสี่ยงต่อสภาวะล้มละลาย

สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดความไม่สงบภายในสหราชอาณาจักร ฟุตบอลลีกหยุดพักชั่วคราวในเดือนเมษายน ปี 1915 ขณะนั้นฟอสส์ จบในอันดับรองสุดท้ายของดิวิชั่น 2 และต้องการเสียงข้างมากในหมู่คณะกรรมการจัดตั้งลีก เพื่อรักษาสถานะให้สโมสรยังคงแข่งขันต่อไปได้

นักเตะหลายคนในสโมสรเวลานั้น เลือกข้างอยู่กับฝ่ายอักษะ เพื่อต่อต้านคนเยอรมันในประเทศ ที่กำลังลงทำการแข่งขันในลีกภูมิภาค แต่สถานการณ์ทางการเงินของทีมอาจอยู่ไม่รอดกระทั่งถึงช่วงที่สงครามสิ้นสุด ซึ่งกว่าเหตุการณ์นั้นจะมาถึงก็ล่วงเข้าไปฤดูหนาวปี 1918

 

จากเลสเตอร์ ฟอสส์ สู่ เลสเตอร์ ซิตี้

การเปลี่ยนแปลงย่อมต้องเกิดขึ้นเพื่อรักษาสโมสรเอาไว้ให้อยู่รอด ภายหลังปัญหาการเงินรุมเร้า ท้ายที่สุด บริษัทใหม่ก็เข้ามาซื้อกิจการและเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น “สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้” ในปี 1919

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ คว้าแชมป์ลีกระดับ 2 ทั้งหมด 7 ครั้ง (ปัจจุบันเป็นฟุตบอลเดอะแชมเปี้ยนชิพ) , เข้าชิงเอฟเอคัพ 4 ครั้ง , และคว้าแชมป์ลีก คัพอีก 3 สมัย รวมถึงเข้าแข่งขันในฟุตบอลยุโรป 4 ฤดูกาล ซึ่งฤดูกาล 2016-2017 คือซีซั่นแห่งความทรงจำ เมื่อทีม “สุนัขจิ้งจอก” ทะลุเข้าไปได้ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย จากผลงานที่พวกเขาคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2015-2016 ภายใต้ผู้จัดการทีมอย่างเคลาดิโอ รานิเอรี่ จากอัตราต่อรองในช่วงต้นฤดูกาลที่ 5000 -1 (ลุงทุน 1 , จ่าย 5,000 ไม่รวมทุน) ว่าทีมจะเป็นแชมป์ได้สำเร็จ

หลากหลายความทรงจำเกิดขึ้น ในฤดูกาล 1928-29 สโมสรเกือบได้แชมป์ลีกสูงสุด โดยลูกทีมของ วิลลี่ ออร์ มีคะแนนเป็นรอง “เดอะ เว้นส์เดย” (เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ในปัจจุบัน) ไปเพียงแค่แต้มเดียวเท่านั้น พวกเขามีดาวซัลโวอย่างอาร์เธอร์ แชนด์เลอร์ (34 ประตู) และดาวเตะทีมชาติอังกฤษในเวลานั้นอย่างฮิวจ์ แอดค็อก , อาร์นี่ ไฮน์ และ เลน แบร์รี่

ความสำเร็จอยู่กับทีมได้ไม่นานนัก เลสเตอร์ ต้องตกชั้นไปเล่นในระดับดิวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1935-36 แต่ในฤดูกาลถัดมา 1936-37 พวกเขาคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 กลับขึ้นมาเล่นในดิวิชั่น 1 อีกครั้ง และ  ต้องตกชั้นไปเล่นในดิวิชั่น 2 อีกครั้งในฤดูกาล 1939-40 ก่อนที่ฟุตบอลลีกจะต้องเบรกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มขึ้น

และหลังจากที่ฟุตบอลลีกกลับมาแข่งขันกันอีกครั้ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เลสเตอร์ ยังเล่นอยู่ในระดับดิวิชั่น 2 แต่ท้ายที่สุด พวกเขาก็ได้เข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ในปี 1949 ก่อนเลื่อนชั้นกลับมาสู่ลีกสูงสุดพร้อมกับคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1953-54 และ 1956-57

ในช่วงเวลานั้น เลสเตอร์ ซิตี้ มีอาร์เธอร์ โรว์ลี่ย์ ตำนานกองหน้าของทีมที่ทำประตูได้ 434 ลูกตลอดอาชีพค้าแข้ง และเป็นสถิติตลอดกาลของวงการฟุตบอลอังกฤษ และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ในปี 1961 , 1963 และ 1969

ในทศวรรษ 1960 เลสเตอร์ ซิตี้ ได้รับฉายาว่า “ราชันย์แห่งยุคน้ำแข็ง”(Ice Kings)  เพราะโชว์ฟอร์มได้ร้อนแรงในช่วงเวลาที่ประเทศอังกฤษนั้นมีสภาพอากาศที่หนาวจัด พวกเขาลุ้นแชมป์ทั้งฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วยในปี 1963 ก่อนคว้าแชมป์ ลีก คัพ ในฤดูกาล 1964 และเข้าชิงอีกครั้งในปีถัดมา

เลสเตอร์ ได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลถ้วยยุโรป คัพ วินเนอร์ส คัพในปี 1961 กระทั่ง กอร์ดอน แบงค์ส ผู้รักษาประตูเลสเตอร์ในเวลานั้น ก้าวไปคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกกับทีมชาติอังกฤษในปี 1966

หลังจากตกชั้นไปช่วงระยะเวลาสั้นๆ เลสเตอร์ ซิตี้กลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง และเป็นทีมหนึ่งที่สร้างสีสันที่สุดในประเทศ แต่ก็ต้องตกชั้นไปในปี 1978

ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 พวกเขาเลื่อนชั้น 2 ครั้ง และตกชั้นไปอีก 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม แกรี่ ลินิเกอร์ , อลัน สมิธ และ สตีฟ ลิเน็กซ์ ทำรวมกันไป 150 ประตูในช่วงเวลาเพียง 3 ฤดูกาล

ขณะที่ทศวรรษ 1990 พวกเขาไปที่เวมบลีย์ได้ถึง 7 ครั้ง ใน 9 ปี นั่นคือการชนะเพลย์ออฟเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกในปี 1994 และ 1996 ต่อด้วยการคว้าแชมป์ลีก คัพในปี 1997 และอีกครั้งเมื่อปี 2000

ใน 4 ฤดูกาลสุดท้ายของทศวรรษ 1990 มาร์ติน โอนีล พาเลสเตอร์ ซิตี้ ติด 10 อันดับแรกได้ถึง 4 ฤดูกาล และเข้าไปแข่งในยูฟ่า คัพ ได้ถึง 2 ครั้ง

เลสเตอร์ ซิตี้ ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในพรีเมียร์ลีก  แต่ต้องตกชั้นไปอีกในปี 2002 กระทั่งย้ายจากสนามเก่าคือ ฟิลเบิร์ต สตรีท มายังสนามแห่งใหม่ ที่ ฟิลเบิร์ต เวย์ และใช้ชื่อว่า “วอล์คเกอร์ สเตเดี้ยม” ตามชื่อของผู้สนับสนุนในขณะนั้น

สโมสรประสบปัญหาด้านการเงินอีกครั้ง และถูกควบคุมกิจการเมื่อเดือนตุลาคมปี 2002 แต่เลื่อนชั้นกลับมาสู่พรีเมียร์ลีกอีกครั้งในปี 2003 แต่ก็ตกชั้นไปอีกครั้งในปี 2004

มิลาน แมนดาริช ซื้อสโมสรเลสเตอร์ไปเป็นเจ้าของเมื่อปี 2007 แต่ทีมต้องหล่นไปเล่นในลีก 1 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร ในฤดูกาล 2007-08 ก่อนกลับขึ้นมาสู่แชมเปี้ยนชิพได้ในฐานะแชมป์ของลีก 1 ในฤดูกาลถัดมา

 

กลุ่มคิง เพาเวอร์ เข้าซื้อกิจการสโมสร

เดือนสิงหาคม 2010 กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ โดย คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของสโมสร ต่อจาก มิลาน แมนดาริช เจ้าของสโมสรเดิม ซึ่งขณะนั้นเลสเตอร์ เล่นอยู่ในระดับเดอะ แชมเปี้ยนชิพ หรือดิวิชั่น 2 เดิม โดยมีนโยบายการบริหารสโมสร ที่ไม่มุ่งเน้นความสำเร็จแต่เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพพัฒนาการของนักเตะและวิธีบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เริ่มจากการปรับโครงสร้างภายในสโมสรที่จำเป็นทั้งหมด รวมถึงนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาใช้ในการพัฒนาสโมสร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้แก่สโมสรในระยะยาว และมีการวางเป้าหมายไว้ว่า เลสเตอร์ ซิตี้ จะต้องเลื่อนชั้นขึ้นไปโชว์ฝีเท้าในศึกพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษให้ได้ นอกจากนี้ ยังได้ปรับขยายความจุ ของสนาม “วอล์คเกอร์ สเตเดี้ยม” (ชื่อเดิม)เป็น 32,500 ที่นั่ง พร้อมเปลี่ยนชื่อสนามเป็น “คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม”

นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ทีมทำแต้มได้สูงมากในแชมเปี้ยนชิพฤดูกาล 2013-14 ภายใต้การคุมทีมของไนเจล เพียร์สัน กระทั่งเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกในฐานะแชมป์เปี้ยน จากนั้น เลสเตอร์ ซิตี้ สร้างปาฏิหารย์รอดตกชั้นจากพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2014-15 ทั้งที่ทีมรั้งอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายของตารางตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน 2014

เลสเตอร์ อยู่ในอันดับสุดท้ายของพรีเมียร์ลีก ขณะที่เหลือเพียง 9 เกมสุดท้าย แต่เลสเตอร์ ชนะได้ถึง 7 นัด , เสมอ 1 นัด และแพ้ 1 นัด ทำให้พวกเขาขยับขึ้นมาจบในอันดับที่ 14 ของตารางคะแนน

ฤดูกาล 2015-16 เลสเตอร์ ซิตี้ ภายใต้การคุมทีมของเคลาดิโอ รานิเอรี่ สร้างประวัติศาสตร์เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก ครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร  เจมี่ วาร์ดี้ ดาวยิงที่ทีมซื้อมาจากฟลีตวู้ด ทาวน์ ทีมนอกลีกทำประตูในพรีเมียร์ลีกได้ถึง 11 เกมติดต่อกัน ทำลายสถิติเดิมของ  รุด ฟาน นิสเตลรอย ที่ทำได้ 10 นัดติดต่อกัน

สองนักเตะกำลังสำคัญ ริยาด มาห์เรซ และ เอ็นโกโล่ ก็องเต้ ได้รับเสียงชื่นชมหลังย้ายมาจาก เลอ อาฟร์ และ ก็อง การคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งนั้น ทำให้พวกเขาได้สิทธิ์แข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่สุดของยุโรป ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร

ฤดูกาล 2016-17 เคร็ก เช็กสเปียร์ ที่รับหน้าที่แทน เคลาดิโอ รานิเอรี่ พาทีม “จิ้งจอกสยาม” ทะลุเข้าไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก หลังคว้าแชมป์กลุ่ม และเอาชนะเซบีญ่าในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ก่อนตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยการแพ้แอตเลติโก้ มาดริด ด้วยสกอร์รวม 1-2 ก่อนที่จะจบอันดับที่ 12 ในพรีเมียร์ลีก

ฤดูกาล 2017-18 เลสเตอร์ ซิตี้ มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมอีกครั้งโดยแต่งตั้ง โคล้ด ปูแอล กุนซือชาวฝรั่งเศส รับหน้าที่แทน เคร็ก เช็กสเปียร์ ที่แยกทางกับสโมสรในเดือน ตุลาคม 2017 โคล้ด ปูแอล  พาเลสเตอร์ จบอันดับที่ 9 ในพรีเมียร์ลีก ในขณะที่ฟุตบอลถ้วยทั้ง 2 รายการต้องตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในเกมการแข่งขันกับ เชลซี ในศึกเอฟเอ คัพ และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในลีก คัพ

ฤดูกาล 2018-19 สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ เสียผู้เล่นสำคัญอย่าง ริยาด มาห์เรซ ไปให้กับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ แต่ก็ได้ นักเตะฝีเท้าดีอย่าง เจมส์ แมดดิสัน (นอริช) และ ริคาร์โด้ เปเรยร่า (ปอร์โต้) มาทดแทน

เดือนกุมภาพันธ์ 2019 โคล้ด ปูแอล แยกทางกับสโมสร หลังจากที่ทีมมีผลงานตกต่ำลง และ ทำให้ เบรนแดน ร็อดเจอร์ส ผู้จัดการทีมชาวไอร์แลนด์เหนือ เข้ารับหน้าที่แทน และ กลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เลสเตอร์ คืนฟอร์มเก่งกลับมาและพาทีมจบในอันดับที่ 9 ของตารางคะแนนฤดูกาล 2018-19

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2018 ถือเป็นเหตุการณ์สูญเสียครั้งใหญ่ของสโมสร คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฯ ถึงแก่กรรมหลังประสบอุบัติเหตุเฮลิค็อปเตอร์ตก พร้อมด้วยผู้เสียชีวิตอีก 4 ราย ด้านนอกสนามคิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม

คุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา รองประธานสโมสร ผู้เป็นบุตรชายได้ให้คำมั่นว่าจะสืบสานเจตนารมย์ และจะดูแลสโมสรต่อจากบิดาอย่างเต็มที่สุดความสามารถ

ฤดูกาล 2019/20 เลสเตอร์ ซิตี้ จบอันดับที่ 5 ของพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยทำได้ 62 คะแนนจากการแข่งขัน 38 นัด ผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอล ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก และเป็นการลุยศึกยุโรปเป็น ครั้งที่ 5 ของสโมสร

ฤดูกาล 2020/21 เลสเตอร์ ซิตี้ คว้าแชมป์ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร 137 ปี หลังเอาชนะ เชลซี ไป 1-0 ที่สนามเวมบลีย์ จากประตูชัยของ ยูริ ติเลอม็องส์ และจากการคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ทำให้เลสเตอร์ ซิตี้ ได้เข้าไปเล่นในศึกฟุตบอลเอฟเอ คอมมูนิตี้ ชิลด์ 2021 โดยพบกับแชมป์พรีเมียร์ลีก แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และเฉือนชนะไปได้ 1-0 จากประตูชัยของ เคเลชี่ อิเฮียนาโช่ คว้าแชมป์ฟุตบอลเอฟเอ คอมมูนิตี้ ชิลด์ มาครองได้เป็นสมัยที่ 2 หลังจากที่เคยคว้าแชมป์มาแล้วในปี 1971

 

ตราสโมสร

เลสเตอร์ ซิตี้ เริ่มมีการใช้ตราสโมสรครั้งแรกในปี 1948 โดยมีรูปสุนัขจิ้งจอกอยู่ในตราสโมสรด้วย หลังจากนั้นในปี 1983 -1992 มีการปรับรูปแบบของตราสโมสรอีกครั้งโดยมีรูปสุนัขจิ้งจอกในท่วงท่ากำลังเดิน อยู่บนวงกลมเรียบง่าย และ ช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 1992-93 ถึง ฤดูกาล 2009 จึงมีการปรับรูปแบบของตราสโมสรอีกครั้ง โดยมีรูปหน้าสุนัขจิ้งจอกสีเหลืองเข้ม และ เพิ่มตัวอักษร Leicester City Football Club ลงไป  ก่อนที่จะมีการปรับรายละเอียดครั้งสุดท้ายในปี 2010 ด้วยการเพิ่มสีขาวในแก้มของสุนัขจิ้งจอกบนตราสโมสร ปรับรูปแบบตัวอักษรเล็กน้อย ซึ่งเป็นตราสโมสรแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

**ฤดูกาล 2009-10 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 125 ปีของสโมสร มีการเพิ่มเลข 125 เข้าไปใต้ตราสโมสรรูปสุนัขจิ้งจอก และ ระบุปีก่อตั้งสโมสร ลงไปใน ตราสโมสรด้วย

สีประจำสโมสร

เลสเตอร์ ซิตี้ ใช้สีน้ำเงิน และ สีขาวเป็นสีประจำสโมสร 

คำขวัญประจำสโมสร

Foxes Never Quit (จิ้งจอกไม่เคยยอมแพ้) เป็นคำขวัญ ของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ที่ใช้ปลุกขวัญและกำลังใจ ให้นักฟุตบอลของเลสเตอร์ ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ จะสู้จนสิ้นเสียงนกหวีดสุดท้าย

และ ทางสโมสรก็ได้มีการทำป้ายคำขวัญนี้  “Foxes Never Quit”   ติดอยู่บนอุโมงค์ทางเข้าสนามให้นักเตะได้สัมผัสกับป้ายดังกล่าวก่อนลงสนาม และ สร้างความฮึกเหิมก่อนทำการแข่งขันด้วย

 

ตัวนำโชค หรือ การ์ตูนสัญลักษณ์สโมสร (Mascot)

LC7679-323“ฟิลเบิร์ต” (Filbert)  มาสค็อตรูปสุนัขจิ้งจอกที่เหล่าแฟนบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ทุกคนหลงรัก ชื่อ “ฟิลเบิร์ต” นี้ได้รับการตั้งชื่อตามทำเลที่ตั้งของสนามเก่าที่แฟนเลสเตอร์ไม่เคยลืมอย่าง ฟิลเบิร์ต สตรีท (Filbert Street) 

“ฟิลเบิร์ต” เป็นมาสคอตประจำสโมสรของเลสเตอร์ ซิตี้ ที่อยู่คู่กับทีมมาตั้งแต่ปี 1992

เจ้า “ฟิลเบิร์ต” จะปรากฏตัวเป็นมาสคอตนำโชคทุกเกมที่ เลสเตอร์ ซิตี้ ลงเตะในบ้าน ทั้งที่ ฟิลเบิร์ต สตรีท (สนามเก่า) และ คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม

ฟิลเบิร์ต ลงสนามเป็นมาสคอตให้กับ เลสเตอร์ ซิตี้ มามากกว่า 27 ปี มากกว่า 1,000 เกม ผ่านการคุมทีมของกุนซือ 18 ราย สัมผัสทุกข์และสุข ร่วมกับนักเตะอีกหลายร้อยคน ฟิลเบิร์ตไม่เคยพลาดแม้แต่เกมเดียว ที่จะเข้าไปยืนเชียร์เหล่านักเตะของเลสเตอร์ ซิตี้ และคอยให้ความสนุกกับเหล่าสาวก “จิ้งจอกสยาม” อยู่ที่ข้างสนาม ณ วันแข่งขัน นอกจากนี้ ฟิลเบิร์ต ยังคอยไปเยี่ยมเยือนโรงเรียน, โรงพยาบาล และแหล่งชุมชนต่างๆในแถบเลสเตอร์เชียร์ ให้เหล่าเด็กๆ แฟนบอลได้ถ่ายรูปเซลฟี่กันอย่างสนุกสนานอีกด้วย

 

ขอเสนอแนะเกมคาสิโนออนไลน์ “Fortune Rabbit” ที่สามารถเล่นได้บนแพลตฟอร์ม 1win และ pin-up รวมถึงในแพลตฟอร์ม War Fortune Rabbit จากผู้พัฒนาเกม PG ครับ

“Fortune Rabbit” เป็นเกมคาสิโนออนไลน์ที่นำเสนอประสบการณ์การเล่นที่น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน ด้วยธีมกระต่ายของโชคลาภที่น่ารัก การเล่นเกมนี้บนแพลตฟอร์ม 1win และ pin-up จะทำให้คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับความสนุกได้อย่างไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปยังสถานที่เล่นคาสิโนแบบดั้งเดิม

แล้วก็อย่างไรกันบ้าง ในแพลตฟอร์ม Fortune Rabbit จาก PG เป็นที่มาของความบันเทิงที่ไม่มีวันจบสิ้น ด้วยฟีเจอร์และกราฟิกที่น่าทึ่ง คุณจะได้สัมผัสกับความตื่นเต้นในการเล่นเกมออนไลน์แบบสุดพิเศษ

เพลิดเพลินไปกับการเล่นเกม “Fortune Rabbit” ในแพลตฟอร์ม 1win และ pin-up พร้อมทั้งสัมผัสประสบการณ์ใหม่ด้วย “War Fortune Rabbit” จาก PG ซึ่งจะทำให้คุณตื่นเต้นและติดใจกับความสนุกไม่หยุดนิ่งครับ!